Monday, July 29, 2013

แถลงข่าว: ชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้สอบสวนข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัทสวิส Mercuria


วันนี้กลุ่มประชาชนซึ่งกังวลเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria ได้จัดการชุมนุมที่หน้าสำนักงานใหญ่ปตท.ในกรุงเทพฯเพื่อประท้วงข้อตกลงดังกล่าว


เราเชื่อว่าข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria เป็นสิ่งที่น่าสงสัยและอาจจะมีการทุจริตคอรัปชั่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย บุคคลสำคัญในปตท.ที่อยู่เบื้องหลังข้อตกลงนี้คือนายดำรงค์ ปิ่นภูวดล ซึ่งเป็นบุคคลที่คนในปตท.บางคนมองว่าไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะดำรงตำแหน่งปัจจุบันและเป็นคนที่ถูกหลายคนตั้งคำถามในเรื่องร้ายแรง
การชุมนุมของเราวันนี้เป็นการเรียกร้องให้ถอดถอนนายดำรงค์ออกจากตำแหน่ง และเราขอเน้นย้ำข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยอย่างน้อยที่สุดเจ้าหน้าไทยซึ่งมีหน้าที่ปราบปรามการคอรัปชั่นต้องเข้ามาสอบสวนนายดำรงค์และข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria  อย่างทันทีและเต็มที่ เพราะปตท.เป็นองค์ใหญ่ขนาดใหญ่และเป็นทรัพย์สมบัติของชาติซึ่งสำคัญเกินกว่าที่จะปล่อยให้หลุดไปอยู่ในมือของกลุ่มบุคคลที่ไร้ประสิทธิภาพและเพียงต้องการกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว

การขึ้นราคาน้ำมันล่าสุดซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคนไทยทั่วไป ซึ่งเกิดจากการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพของปตท.อย่างใหญ่หลวง นอกจากนี้ การรั่วของน้ำมันดิบในอ่าวไทยครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่าการไม่รับผิดของปตท.สร้างผลลัพท์ที่เสียหายอย่างไม่เคยมีมาก่อน
 ข้อตกลงของปตท.และบริษัท Mercuria - บริษัทที่มีหนี้สินหลายพันล้านดอลล่าสหรัฐ และยังมีสายสัมพันธ์กับบริษัทอุตสาหกรรมที่ทุจริตคอรัปชั่นของไนจีเรีย คือข้อตกลงที่ดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์ใดต่อคนไทยเลย แล้วทำไมปตท.ถึงยังเดินหน้าผลักดันข้อตกลงนี้?
เป็นไปได้หรือไม่ที่กลุ่มบุคคลในปตท.กลุ่มหนึ่งที่พยายามจะผลักดันข้อตกลงนี้ได้รับประโยชน์และเงินทองมหาศาลตอบแทนจากข้อตกลงนี้?
เราต้องการให้เจ้าหน้าที่รัฐและสื่อมวลชนไทยตั้งคำถามแบบนี้ ในกรณีข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria รวมถึงสอบสวนการเจรจาระหว่างนายดำรงค์และตัวแทนบริษัท Mercuria ในประเทศไทย นายสตาร์รี่ ลู (Starry Loo หรือ CP Loo) ด้วย
เพราะการสอบสวนจะทำให้ความจริงถูกเปิดเผย และยังทำให้คนไทยรู้สึกมั่นใจว่าปตท.ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของชาติจะปฏิบัติตนโดยชอบด้วยกฎหมายและรับผิดชอบ โดยไม่ตอบรับข้อตกลงที่จะทำให้บริษัทต่างชาติซึ่งมีประวัติน่าสงสัยอย่าง Mercuria เข้ามาผูกขาดปตท.
**ชมวิดีโอคลิปการประท้วงได้ที่นี่  **

Sunday, July 21, 2013

ผู้บริหารปตท.บางรายทำราคาน้ำมันขึ้น??


วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคมนี้ เราได้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มหน้ากากขาวที่เซ็นทรัลเวิร์ล และแจกใบปลิวเพื่อย้ำถึงความไม่ชอบมาพากลของข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัทสวิส Mercuria ใบปลิวได้ลงรูปของบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแรงขับเคลื่อนหลักเพื่อผลักดันข้อตกลงนี้ในปตท. บุคคลนั้นคือนายดำรงค์ ปิ่นภูวดล

เราจะผลักดันเรื่องนี้เพื่ออยากให้ประชาชนหันมาสนใจเรื่องราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมถึงข้อตกลงที่น่าสงสัยของปตท.ที่จะทำกับบริษัทที่มีหนี้มหาศาลอย่าง Mercuria การผูกขาดจากข้อตกลงนี้อาจจะส่งผลทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น การผูกขาดนี้ได้เริ่มขึ้นแล้ว และเมื่อไม่นานมานี้ได้ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และจะนำไปสู่ภาวะข้าวยากหมากแพงในประเทศไทย
 เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลสอบสวนข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria อย่างจริงจัง และสอบสวนนายดำรงค์ เพื่อยับยั้งไม่ให้คนไทยต้องตกเป็นเหยื่อของการผูกขาดที่สร้างผลกำไรให้กับคนกลุ่มหนึ่งในสังคมเท่านั้น 
ช่วยกันสนับสนุนแคมเปญเราด้วยการคลิ๊ก LIKE และแชร์เฟคบุ๊คของเราด้วยค่ะ 

Wednesday, July 10, 2013

ราคาน้ำมันขึ้นอีกวันนี้ และหากปตท.ซื้อหนี้Mercuria คนไทยคนหนึ่งอาจต้องใช้เวลา 32,000 ปีเพื่อจ่ายหนี้


ในขณะที่ราคาน้ำมันขึ้นสูงขึ้นอย่างมากอีกครั้งในประเทศไทย ราคาใหม่ของน้ำมันเบนซิล 95 คือ 47.45บาทต่อลิตร ซึ่งราคาเกือบจะเท่ากับราคาน้ำมันที่ประเทศในยุโรป เราจึงต้องมองเรื่องข้อตกลงของปตท.และบริษัท Mercuria อย่างถี่ถ้วน
มีรายงานว่า บริษัท Mercuria มีหนี้สิน 42 พันล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนมหาศาลและเท่ากับเงินงบประมาณสาธารณสุขไทย 5 เดือน หรือหมายความว่าคนไทยคนหนึ่งต้องทำงานในค่าจ้าง 300 บาทต่อวันเป็นเวลา 32,000 ปีเพื่อชดใช้หนี้นี้

ก่อนที่ปตท.กำลังจะซื้อหนี้ของบริษัท Mercuria ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกิจแบบคอรัปชั่นของบริษัทสัญชาติสวิสในประเทศไนจีเรีย ปตท.ได้ใช้ความพยายามมากแค่ไหนในการรับรองว่าบริษัท Mercuriaจะได้รับการจ่ายคืนหนี้จากไนจีเรีย?
ตามที่เรากล่าวก่อนหน้านี้ในบทความเรื่องหนี้สินของบริษัท Mercuria ซึ่งเป็นหนี้สินที่ไม่ได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่รัฐไนจีเรีย เพราะบริษัท Mercuria ถูกมองว่าไม่ได้ทำสัญญาอย่างสมบูรณ์กับไนจีเรีย นอกจากนี้ยังมีประเด็นทางกฎหมายที่บริษัท Mercuria เคยถูกฟ้องร้องในอดีตที่ไนจีเรีย และมันอาจจะเป็นว่าปตท.และคนไทยอาจจะไม่ได้เงินคืนหากมีการเซ็นสัญญาลงทุนนี้
ดังนั้นหากข้อตกลงซื้อหุ้นบริษัท Mercuria ของปตท.เกิดขึ้น บริษัท Mercuria จะเข้ามาผูกขาดปตท.อย่างช้าๆ ในการนำเข้าน้ำมันดิบ และการส่งออกสินค้าที่ได้จากน้ำมันดิบ
ตามที่เราเตือนไปก่อนหน้านี้ว่า ข้อตกลงนี้จะทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ซึ่เงป็นสิ่งที่คนไทยก็เห็นกันอยู่แล้วในปัจจุบัน
เราขอเรียกร้องให้คนไทยทุกคนประท้วงต่อต้านข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria เพื่อหยุดการคอรัปชั่นหนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญของชาติ
ช่วยกันยับยั้งกลุ่มมาเฟีย Mercuria เพื่อหยุดการคอรัปชั่น

Thursday, July 4, 2013

ทำไมปตท.ถึงต้องการซื้อหนี้บริษัท Mercuria ซึ่งมีประวัติการคอร์รัปชั่น


ตามที่เราระบุไปก่อนหน้านี้ว่าปตท.ใกล้ที่จะตอบรับข้อตกลงทำสัญญากับบริษัทผู้ค้าน้ำที่เกือบล้มละลาย Mercuria ซึ่งมีหนี้สินกว่า 40 ล้านบาท โดยข้อตกลงนี้เกี่ยวข้องกับการที่ปตท.จะใช้ภาษีประชาชนไทยซื้อหนี้ก้อนโตและยังให้บริษัท Mercuria เข้ามาผูกขาดการนำเข้า/ส่งออกสินค้าน้ำมัน อันจะส่งผลทำให้คนไทยทั่วไปต้องบริโภคน้ำมันในราคาที่แพงขึ้น
การทำความเข้าใจว่าบริษัท Mercuria ทำงานโดยวิธีการที่ไม่สุจริตอย่างไร เรามาอ่านเรื่องราวการทำธุรกิจของบริษัทนี้ในไนจีเรีย


ปัจจุบัน หนึ่งใน “ผู้สนับสนุน” หลักของบริษัท Mercuria ในไนจีเรียคือนาย Laoye Abiola บุตรชายของผู้บังคับบัญชาการ Moshood Abiola กับหนึ่งในภรรยาของเขาหลายคน นาย Laoye พัวพันกับการทุจริตในธุรกิจน้ำมันอันอื้อฉาวของไนจีเรียตั้งแต่ปี 2545 เขาได้รับผลประโยชน์ส่วนตัวจากการทุจริตนี้ โดยมีการสืบทราบมาว่านาย Laoye มีอสังหาริมทรัพย์มูลค่ามหาศาลในอังกฤษ
ตอนนี้ลูกจ้างบริษัท Mercuria นาย Laoye ใช้เวลาส่วนใหญ่ในเจนีวา ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท Mercuria แต่กระนั้นเขายังคงจับตามองธุรกิจของเขาที่บ้านเกิดในไนจีเรียอย่างใกล้ชิด มีการสันนิษฐานว่าความสัมพันธ์ของนาย Laoye และบริษัท Mercuria เริ่มต้นขึ้นในปี 2550  เมื่อการทำธุรกิจค้าขายน้ำมันส่วนตัวของนาย Laoye เริ่มมีการเชื่อมต่อกันระหว่างผลประโยชน์ของบริษัท Mercuria และไนจีเรีย
นับแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัท Mercuria เข้าไปเกี่ยวพันและถูกสอบสวนกรณีเรื่องการทำสัญญาที่ไม่ชอบมาพากลหลายครั้ง ซึ่ง “คณะกรรมการคดีอาญาทางเศรษฐกิจและการเงิน” (EFCC) ของไนจีเรียได้ให้ความสนใจ ประเด็นที่น่าจับตามมองในหลายข้อกล่าวหานี้คือการปลอมแปลงเอกสาร “ใบตราส่งสินค้า” (Bills of Lading) กรณีระหว่างบริษัท Mercuria และบริษัทน้ำเข้าสินค้าไนจีเรีย Oanda โดยบริษัท Oanda ถูกระงับมิให้ทำการค้าในไนจีเรียเมื่อพบว่าคาร์โก้สินค้าน้ำมันที่เขาซื้อมาจากบริษัท Mercuria นั้นมีปริมาณเอทานอลที่สูงเกินกำหนด (ทำให้คุณภาพของน้ำมันต่ำลงและเพิ่มกำไรให้บริษัทผู้ค้า) บริษัท Oanda กล่าวโทษบริษัท Mercuria ว่าทำผิดสัญญา
ชัดเจนว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างบริษัท Mercuria และไนจีเรีย เป็นเรื่องที่เราต้องตั้งคำถาม เนื่องจากการทำธุรกิจของพวกเขามีความน่าเคลือบแคลงอย่างมากในกรณีทุจริตคอร์รัปชั่น
ไม่เพียงแต่ประชาชนไทยเท่านั้นที่ต้องจ่ายค่าหนี้สินของบริษัท Mercuria แต่พวกเขายังต้องเข้าไปแบกรับข้อกล่าวหาเรื่องคอร์รัปชั่นของบริษัท Mercuria อีกด้วย
ข้อตกลงระหว่างบริษัท Mercuria และปตท.ต้องได้รับการตรวจสอบจากรัฐบาล และเราขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์เริ่มดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้ทันที

Wednesday, July 3, 2013

หากรัฐบาลจริงจังกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น รัฐบาลต้องสอบสวนข้อตกลงปตท.และ Mercuria


ในขณะที่มีข่าวลือว่าจะมีการผ่านข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria ในเร็วๆนี้ ประจวบเหมาะกับที่ผู้บริหารปตท. อย่างนายดำรงค์ ปิ่นภูวดลอยู่ๆก็มีรถหรูขับ และเมื่อไม่นานมานี้ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ประกาศเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการ​ “ต่อต้านคอร์รัปชั่น”



เบื้องหลังที่ลึกกว่านั้นเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจและหนี้ของบริษัท Mercuria ในไจจีเรีย คือบริษัท Mercuria มีความใกล้ชิดอย่างมากกับบุคคุลที่ถูกสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ไนจีเรีย และมีหนี้กว่า 1.4 พันบาท หรือราว 42 พันล้านบาท

ดังนั้นจึงยังมีคำถามอยู่ว่า เหตุใดปตท.ถึงต้องการซื้อหนี้ก้อนโตนี้โดยใช้เงินคนไทย? ทำไมถึงไม่มีการตรวจสอบตามระบอบประชาธิปไตยในกรณีข้อตกลงปตท.ที่มากกว่านี้? ทำไมนักการเมืองไทยถึงทำเหมือนว่าปตท.คือที่พิมพ์ธนบัตรเพื่อผลประโยชน์ตนเองในขณะที่น้ำมันมีราคาแพงขึ้นและเกิดภาวะเงินเฟ้อส่งผลให้คนไทยทั่วไปเดือดร้อน?

หากนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์จริงจังกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นจริง เราขอยืนกรานให้ยิ่งลักษณ์ตรวจสอบพฤติกรรมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังปัจจุบัน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล และบทบาทของเขาในการการันตรีข้อตกลงที่แย่ต่อธุรกิจของปตท.และผลประโยชน์ของคนไทย

คำถามต่อมาคือนายพงษ์ศักดิ์ได้รับเงินจากบริษัท Mercuria เพื่อการันตรีว่าข้อตกลงกับปตท.จะไม่มีปัญหาใช่หรือไม่? คำถามนี้ควรถูกตั้งเป็นประเด็น เพราะว่าข้อตกลงนี้จะส่งผลเสียต่อปตท.และคนไทย เราร้องขอให้มีการสอบสวนนายพงษ์ศักดิ์ นายดำรงค์ และตัวแทนของบริษัท Mercuria และนาย Starry Loo อย่างทันที รวมถึงธนาคารเพื่อการลงทุนสวิสก็สมควรถูกสอบสวนในฐานะที่ช่วยจัดเตรียมข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria ด้วย

มีเหตุผลใดที่คนไทยต้องจะเสียเงินให้กับการคอร์รัปชั่นครั้งนี้? ทำไมเราถึงต้องยอมให้บริษัท Mercuria เข้ามาผูกขาดปตท.?

เราต้องทำการสอบสวนเรื่องนี้เดี๋ยวนี้! เราร้องขอให้คนไทยที่กังวลเรื่องนี้ ส่งข้อความไปยังเวปไซต์ต่อต้านคอร์รัปชั่นของรัฐบาลตามลิงค์นี้ http://www.stopcorruption.go.th/