Sunday, June 30, 2013

บริษัท Mercuria กำลังมองหาผู้ลงทุน


แปลจากนิตยสาร Africa Energy Intelligence  ฉบับที่ 699 วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บริษัทผู้ค้าสัญชาติสวิส ซึ่งมีที่มั่นในแอฟฟริกากำลังมองหาผู้ลงทุนใหม่ หนึ่งในบริษัทที่พวกเขาสนใจคือปตท.

ธนาคารเครดิตสวิสได้เลือกชื่อ “Magenta” (สีม่วงแดง) เพื่อวัตถุประสงค์ในโครงการขายหุ้น 20% ของกลุ่มพลังงาน Mercuria ให้กับกลุ่มผู้ลงทุน บริษัทผู้ค้าซึ่งทำงานด้านการสำรวจและการผลิตน้ำมัน และโดยเฉพาะในประเทศ Equatorial Guinea บริหารโดยผู้ก่อตั้งสองคนคือนาย Marco Dunand และนาย Daniel Jaeggi รวมถึงกลุ่มผู้บริหาร 150 คน


ในเดือนที่ผ่านมานี้ นาย Marco Superina และนาย Thomas Gottstein นายธนาคารจากธนาคารเครดิตสวิสซึ่งเข้ามาดำเนินการทำสัญญาให้กับบริษัท Mercuria ได้ทาบทามองค์กรและกองทุนรัฐบาลหลายแห่ง พวกเขามองหากลุ่มผู้ลงทุนในเอเชียเป็นพิเศษ เนื่องจากเอเชียซึ่งกลายมาเป็นตลาดชั้นนำสำหรับผู้ค้าน้ำมันดิบในแอฟฟริกา

ตามแหล่งข่าวของเราระบุว่า ปตท.ระหว่างประเทศ หน่วยงานด้านการลงทุนของบริษัทน้ำมันซึ่งบริหารโดยรัฐบาลไทย คือหนึ่งในผู้ลงทุนที่มีศักยภาพ แต่การทาบทามของธนาคารเครดิตสวิสต่อปตท.ก่อให้เกิดความตึงเครียดในปตท.เอง และโดยเฉพาะในแผนกการค้า เนื่องจากพวกเขารู้สึกกังขาในการซื้อขายดังกล่าว เพราะพวกเขาเชื่อว่าบริษัท Mercuria มีหนี้มหาศาลกับบริษัท Popelines&Products Marketing Co (PPMC) ซึ่งเป็นนายหน้าส่งออกสินค้าน้ำมันในไนจีเรีย แต่บางคนในปตท. รวมถึงรองประธานกรรมการ อย่างนายดำรงค์ ดูเหมือนจะเห็นด้วยกับการลงทุนนี้

นอกจากนี้ นาย Han Jin ผู้อำนวยการบริษัท Mercuria ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค และนาย Starry Loo ซึ่งเป็นตัวแทนบริษัท Mercuria ในประเทศไทยยังพยายามสนับสนุนการลงทุนของปตท.อย่างแข็งขัน

Friday, June 28, 2013

พลังงานงานปตท.ใส่หน้ากากขาวประท้วงกลุ่ม “มาเฟีย” บริษัท Mercuria อีกครั้ง


หลายวันที่ผ่านมา เราโพสต์ข้อความว่าพนักงานปตท.ประท้วงต่อต้านการเซ็นสัญญาระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria วันนี้เราได้รับภาพของพนักงานปตท.ใส่ชุดดำถือป้ายประท้วงเขียนว่า “No to Mercuria Mafia” (ไม่เอากลุ่มมาเฟีย Mercuria)

 พนักงานปตท.ซึ่งอาจต้องเข้าไปสมาคมกับกลุ่มบริษัทมาเฟีย Mercuria แสดงความไม่พอใจในข้อตกลงที่อาจทำให้บริษัทน้ำมันของคนไทยต้องเข้าไปซื้อหนี้สินมูลค่าราว 1.3 พันล้านดอลล่าสหรัฐของบริษัท Mercuria
นอกจากนี้พนักงานปตท.ชูป้ายประท้วงเขียนว่า “Out Dumrong” (นายดำรงค์ออกไป) ดังนั้นจึงเป็นเรื่องชัดเจนที่พวกเขามองว่านายดำรงค์ ปิ่ณภูวดล รองประธานกรรมการผู้บริหารปตท. ในแผนกธุรกิจระหว่างประเทศคนใหม่เป็นคนในปตท.ที่ผลักดันข้อตกลงที่จะทำให้กลุ่ม “มาเฟีย” บริษัท Mercuria เข้ามาเทคโอเว่อร์ปตท.

นี่คือการประท้วงล่าสุดซึ่งเกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่บริษัท Mercuria เซ็นสัญญาหนึ่งปีกับปตท.ว่าจะเป็นผู้เข้ามาจัดหาน้ำมันดิบซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและไนจีเจีย สัญญาระหว่างบริษัท Mercuria และปตท.คือสิ่งที่บ่งบอกถึงความพยายามเข้ามาผูกขาดของบริษัท Mercuria ต่อการส่งออกของปตท.หากข้อตกลงของกลุ่ม “มาเฟีย” บริษัท Mercuria ผ่านไปได้

Thursday, June 27, 2013

โฉมหน้านักการเมืองผู้ชักใยแผนการให้ปตท.ซื้อหุ้นบริษัท Mercuria


นี่คือรายละเอียfกลุ่มบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria เรากำลังพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้เป็นรายบุคคล หากใครทราบรายละเอียดดังกล่าว กรุณาส่งข้อมูลมาให้เราที่บล๊อคนี้

คนกลางเรื่องข้อตกลงนี้ในเมืองไทยคือลูกจ้างของบริษัท Mercuria ชื่อนายStarry Loo หรือ CP Loo ทีมงานหาข้อมูลของเราบอกว่านาย Loo เป็นคนมาเลเซียและมีสายสัมพันธ์แน้นแฟ้นกับนักการเมืองไทยและคนใหญ่คนโต

คนที่ถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินของข้อตกลงนี้คือลูกจ้างของบริษัท Mercuria อีกเช่นกัน ชื่อนาย Han Jin ซึ่งเป็นผู้คุมบริษัท Mercuria ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค

สายสัมพันธ์ทางการเมืองที่ช่วยผลักดันข้อตกลงนี้ให้ผ่านไปได้คือนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรมว.พลังงาน และเจ้าของกลุ่มบริษัทเรือบรรทุกสินค้านทลิน และประธานที่ปรึกษาพรรครวมชาติพัฒนา และรมว.พลังงานคนปัจจุบันนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล และคนในปตท.กรรมการผู้จัดการใหญ่พีทีที โกลบอล นายบวร วงศ์สินอุดม ทั้งสามคนนี้ถูกว่าจ้างโดยนาย Starry Loo ได้รับการเสนอ “ข้อตกลง” พิเศษผ่านทางนาย Han Jin




สายสัมพันธ์ทางการเมืองทั้งสามทำงานร่วมกันเพื่อแต่งตั้งนายดํารงค์ ปิ่นภูวดลให้ขึ้นเป็นรองประธานกรรมการผู้บริหารปตท. ในแผนกธุรกิจระหว่างประเทศ โดยที่นายดํารงค์มิได้มีประสบการณ์ที่เหมาะสมแต่อย่างใด นายดํารงค์ขึ้นดำรงตำแหน่งนี้เมื่อเดือนธันวาคมปี 2555 และได้เริ่มการผลักดันดำเนินการภายในเพื่อให้ข้อเสนอของบริษัท Mercuria สำเร็จโดยทันที ดังนั้น นายดํารงค์ ซึ่งรู้จักในนามของ “ผู้ปฏิบัติตามคำสั่ง” ของแผนการซื้อหุ้นบริษัท Mercuria และช่วยให้บริษัทดังกล่าวเข้ามาผูกขาดปตท. แหล่งข่าวเราในปตท.บอกเราว่านายดํารงค์ไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามตำแหน่งดังกล่าว โดยเขามาดำรงตำแหน่งแทนบุคคลซึ่งมากด้วยประสบการณ์และได้รับการยอมรับอย่างสูง ประวัติการทำงานในอดีตของนายดํารงค์ยังทำให้เกิดข้อกังขาอีกด้วย มีรายงานว่า นายดํารงค์ได้ปรับเปลี่ยนผู้บริหารระดับล่างเพื่อการันตีว่าตำแหน่งของเขาจะไม่ถูกท้าทาย พนักงานปตท.บางคนตั้งคำถามถึงรถหรูปอร์เช่คันใหม่ของนายดํารงค์ เราจึงอยากขอให้นายดํารงค์พิสูจน์ว่าเขาซื้อรถคันนี้มาจากไหน และให้แสดงหลักฐานว่าเขาซื้อรถคันนั้นมาเองด้วย

เป้าหมายแรกของกลุ่ม “มาเฟีย” เกี่ยวกับข้อเสนอนี้คือการซื้อหุ้น 10-20% ของบริษัท Mercuria ซึ่งมี “มูลค่า” ราว 300-600 ล้านสหรัฐดอลล่า โดยใช้เงินปตท.และโดยไม่คำนึงว่าบริษัท Mercuria จะมีหนี้สินราว 1 พันล้านดอลล่าสหรัฐซึ่งแทบจะไม่มีทางได้รับการจ่ายคืนเลย ข้อตกลงนี้จึงเป็นข้อตกลงที่แย่สำหรับปตท.ในทางธุรกิจ ซึ่งยากที่จะเข้าใจว่าทำไมปตท.จึงอยากรับข้อเสนอนี้ นอกเสียจากจะมีใครคนใดคนหนึ่งได้ผลประโยชน์

เป้าหมายที่สองคือเพื่อการันตีให้บริษัท Mercuria เข้ามาผูกขาดการซื้อขายน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันสามแห่ง เพื่อการเข้าถึงกรรมสิทธิน้ำมันดิบของปตท. และผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมซึ่งส่งออกจากประเทศไทยผ่านทางปตท. ถือว่าเป็นการผูกขาดทั้งวัสดุน้ำมันดิบและน้ำมันกลั่น รวมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านบาท คนไทยซึ่งเป็นเจ้าของปตท. แทบจะไม่ได้ผลประโยชน์จากข้อตกลงกับบริษัท Mercuria นี้เลย แต่บางทีเราอาจเห็นกลุ่มผู้บริหารปตท.มีรถหรูปอร์เช่ขับมากขึ้นก็ได้

ในตอนนี้ ยังไม่มีใครทราบว่าประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ปตท. นายนายไพรินทร์ ชูโชติถาวรคิดอย่างไรกับข้อตกลงนี้ แต่มีข่าวลือว่าเขาจะคัดค้านข้อตกลงดังกล่าว อย่างไรก็ตามนายดำรงกันนายไพลินออกไปให้พ้นทาง นั้นหมายความว่าปตท.กำลังจะตกลงไปในหลุมของ “เหล่าแก๊งมาเฟียบริษัท Mercuria”


Wednesday, June 26, 2013

Bangkok Post: ปตท.ชะลอการซื้อขายหุ้นบริษัท Mercuria



การซื้อหุ้นในบริษัทสวิส Mercuria มูลค่าราว 600 ล้านดอลล่าสหรัฐของบริษัทยักใหญ่ปตท. ต้องหยุดชงักลงหลังจากข้อเสนอถูกโจมตี โดยผู้บริหารกล่าวว่าข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวถูกบิดเบือน

ปตท.ซึ่งมีจำนวนหุ้นมากที่สุดในตลาดหุ้นไทยได้รับข้อเสนอขายหุ้นหุ้นราว 10%-20% ของบริษัทสัญชาติ Mercuria ราคา 300-600 ดอลล่าสหรัฐ จากธนาคารเพื่อการลงทุนเครดิตสวิส ที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท Mercuria ผู้ปริหารปตท.ซึ่งไม่ประสงค์จะออกนามกล่าว



“เราคือหนึ่งในหลายบริษัทที่ได้รับข้อเสนอดังกล่าว แต่เรื่องดังกล่าวยังอยู่ในระยะเริ่มแรกมากๆ และเรายังไม่ได้รับข้อมูลตรงนี้เลย” ผู้บริหารกล่าว

อย่างไรก็ตามการเจรจาเพื่อซื้อหุ้นบริษัท Mercuria ถูกชะลอโดยทีมคณะผู้บริหารหลังจากการจัดซื้อดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยฝ่ายตรงข้ามในโลกออนไลน์ บางคนกล่าวว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกผลักดันโดยนักการเมือง

“ข้อมูลนี้ถูกบิดเบือนอย่างมาก เราไม่รู้จะชี้แจงอะไรบ้าง” ผู้บริหารปตท.กล่าว

รมต.พลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ ไพศาลไม่แยแสต่อคำวิจารณ์เกี่ยวกับการแทรกแซงทางการเมืองในข้อเสนอเสนอนี้

บล๊อคภาษาไทยชื่อ Vagainstcorruption.blogspot.com ตั้งคำถามว่าทำไมปตท.ถึงคิดที่จะซื้อหุ้นดังกล่าว

ในอีเมลล์ส่งถึงบางกอกโพสต์ ผู้เขียนส่งภาพของพนักงงานปตท.ใส่ชุดดำและหน้ากากเพื่อประท้วงคอรัปชั่นในปตท.และข้อเสนอการซื้อหุ้นใน Mercuria

แหล่งข่าวของเราในปตท.ส่งภาพถ่ายพวกเขาที่กำลังประท้วงเพราะไม่พอใจเรื่องที่บริษัท Mercuria กำลังจะเข้ามาควบคุมปตท.” ผู้เขียนกล่าว “พนักงานปตท.แสดงความไว้อาลัยและโกรธแค้นด้วยการใส่ชุดดำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พวกเขาวางแผนจะทำกันอีกในอนาคตอันใกล้..”

ราคาหุ้นของปตท.ปิดเมื่อวานที่ตลาดหุ้นไทย ที่ 326 บาท ลดลง 12 บาท ในการซื้อขายมูลค่า 1.47 พันล้านบาท

Saturday, June 22, 2013

พนักงานปตท.แต่ง "ดำ" ประท้วงบริษัท Mercuria เทคโอเวอร์ปตท.

พนักงานปตท.แต่งดำประท้วงบริษัท Mercuria เข้ามาเทคโอเวอร์ปตท.


แหล่งข่าวของเราในปตท.ส่งภาพถ่ายพวกเขาที่กำลังประท้วงเพราะไม่พอใจเรื่องที่บริษัท Mercuria กำลังจะเข้ามาควบคุมปตท. พนักงานปตท.แสดงความไว้อาลัยและโกรธแค้นด้วยการใส่ชุดดำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พวกเขาวางแผนจะทำกันอีกในอนาคตอันใกล้ แหล่งข่าวคนหนึ่งในปตท.เล่าว่า พนักงานปตท.ราว 90% ต่อต้านการเซ็นสัญญาตามข้อเสนอของบริษัท Mercuria และพวกเขา "กังวลมาก" ว่าจะมี "การทุจริต" เกิดขึ้นด้วย พวกเขาเรียกกลุ่มผู้บริหารในปตท.และคนในรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการการันตีการเซ็นสัญญาตามข้อตกลงของบริษัท Mercuria ว่า "มาเฟีย"

รูปพนักงานปตท.ที่มีหน้ากากขาวปิดหน้าตามภาพนี้อยากขอร้องให้ทุกคนที่ต้องการยับยั้งการทุริตคอรัปชั่นช่วยเผยแพร่ข้อมูลนี้ออกไป ข้อตกลงของปตท.และบริษัท Mercuria คือข้อตกลงที่คอรัปชั่นซึ่งอื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และเราทุกคนต้องช่วยกันเปิดโปง

Friday, June 21, 2013

ใครได้ใครเสียหากปตท.เซ็นสัญญาซื้อหนี้ (เสีย) บริษัทพลังงาน Mercuria?


ตามที่เราเน้นย้ำในบล๊อคนี้ว่ามีการรายงานอย่างกว้างขวางว่าปตท.พยายามจะซื้อหุ้นจำนวนมากของบริษัทพลังงานที่ใกล้จะล้มละลายอย่างบริษัท Mercuria และหากปตท.ซื้อหุ้นเหล่านั้น จะส่งผลให้คนไทยผู้เสียภาษีต้องแบกภาระหนี้ของบริษัท Mercuria หลายพันล้านดอลล่าสหรัฐ ในขณะที่บริษัท Mercuria จะกลายมาเป็นผู้จัดหาน้ำมันในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียวเกือบทั้งหมด การผูกขาดเช่นนี้จะทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นสำหรับคนไทยทั่วไป และจะสร้างปัญหาเงินเฟ้อ นั้นหมายความว่าราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้นด้วย


บริษัท Mercuria เป็นเจ้าหนี้บริษัทไนจีเรียหลายพันล้านบาท แต่หนังสือพิมพ์ไนจีเรียรายงานได้ระบุว่าบริษัทผู้ค้า Mercuria “ขาดความชำนาญในธุรกิจค้าน้ำมันดิบ” และ “การเตรียมการนี้ [ในการขายผ่านทางผู้ค้าเหล่านี้] เต็มไปด้วยอุปสรรคทางราชการและเปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจ ความเสียเปล่าและการกัดกร่อนของมูลค่าส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่เหล่าต่อรายได้ของรัฐบาลไนจีเรีย
นอกจากนี้ รายงานของรัฐบาลไนจีเรียชื่อว่า “Report of the Petroleum Revenue Special Task Force” ระบุว่าบริษัท Mercuria เป็นหนึ่งในบริษัท “ที่ไม่มีสัญญาที่เป็นทางการ” ที่เป็นเจ้าหนี้ไนจีเรีย แล้วเช่นนั้นบริษัท Mercuria ได้รับการจ่ายหนี้คืนได้อย่างไรหากบริษัทไม่มีแม้แต่สัญญาที่เป็นทางการซึ่งยอมรับโดยรัฐบาลไนจีเรีย? ปตท.จะใช้ภาษีของคนไทยเพื่อซื้อหนี้บริษัท Mercuria ซึ่งไม่ทางที่จะถูกจ่ายคืน?
เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในการคอรัปชั่นที่ฉ่าวโฉ่ในไนจีเรียนี้ บริษัท Mercuriaจ้าง นาย Kola Abiola ซึ่งเป็นลูกชายของหนึ่งในนักการเมืองที่มีชื่อเสียงของไนจีเรีย ซึ่งได้รับสมญานามจากสื่อไนจีเรียว่า “มาเฟียใหญ่” นาย Abiola ไม่ใช่คนที่เราจะมองข้ามได้ ในกรณีนี้บริษัท Mercuria ควรต้องถูกตัดสินจากผู้ที่พวกเขาคบค้าสมาคมด้วย
แล้วเหตุใดพนักงานของปตท.อย่างนายดำรง พิณภูวดลถึงกระตือรือล้นที่จะแบกรับภาระหนี้สินของบริษัท Mercuria และทำงานร่วมกับบริษัทที่มีชื่อเสียงน้อยกว่าบริษัทอื่นนักหนา ชัดเจนว่านายดำรงมีรถหรูปอร์เช่คนใหม่ขับ ในขณะที่รมต.พลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาลกำลังจะเกษียณอายุอย่างมหาเศรษฐีในปลายปี 2556 นี้ คำถามคือ พวกเขาได้รับประโยชน์จากข้อตกลงบริษัท Mercuria นี้หรือไม่? แต่ที่แน่นอนคือคนไทยทั่วไปไม่รับประโยชน์จากข้อตกนี้เลย