แปลบางส่วนจากนิตสารInternation al Oil Daily ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
บริษัทปตท. ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ของไทยกำลังดำเนินการเจรจากั บบริษัท Mercuria เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะซื้ อหุ้นของบริษัทผู้ค้าชาวสวิสราว 10% ถึง 20% ในราคา 300-600 ล้านดอลล่าสหรัฐ แหล่งข่าวจากกรุงเทพฯเล่าให้นิ ตรสารในเครือข่ายของ วารสาร International Oil Daily (IOD) อย่าง El Finance (ELF ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) ฟัง อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในบริษัท Mercuria ยังไม่ได้ยืนยันเรื่องนี้ โดยยืนกรานว่าการประกวดหาตัวผู้ เหมาะสมอย่างเป็นทางการซึ่ งดำเนินการโดยธนาคารเพื่ อการลงทุนเครดิตสวิสยังอยู่ ในระยะเวลาเริ่มแรก
บริษัท Mercuria ซึ่งมีอัตราการซื้อขาย 98 ล้านดอลล่าสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว คือหนึ่งในผู้ค้าพลังงานที่ใหญ่ ติดหนึ่งในห้าอันดับของโลก อย่างไรก็ตามบริษัทยังต้ องการเงินทุนและแบบแผนธุรกิ จใหม่เพื่อความอยู่ รอดในบรรยากาศการค้าขายที่มี ความยากลำบากมากขึ้น ซึ่งบริษัทอย่าง Glencore, Vitol, Trafigura และ Gunvor ก็ยังต้องต่อสู้ดิ้นรนกับความท้ าทายดังกล่าวด้วย (IOD 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554).
นอกจากนี้ บริษัท Mercuriaยังต่อสู้กับปัญหาที่ ไม่ธรรมดาอย่างเรื่องหนี้เสียก้ อนโตที่ค้างชำระให้กับบริษัท Nigerian National Petroleum Corp (NNPC) ในประเทศไนจีเรีย ซึ่งได้ส่งสินค้าน้ำมันให้บริษั ท Mercuria โดยใช้เครดิตระยะสั้นตั้งแต่ปี 2553 (IOD 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554) บริษัท Mercuria เป็นเจ้าหนี้ของ NNPC มากว่าเจ้าหน้ารายอื่นๆของ NNPC
มีรายงานว่าปตท.ซึ่งเป็นบริษั ทที่ควบคุมโดยรัฐและมียอดขาย 2,793 ล้านบาท (93.7 พันล้านดอลล่าสหรัฐ) เมื่อปีที่แล้วอยู่ ในสภาวะขยายตัวและมีการซื้ อขายมากขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง บริษัทนำมันดิบในเครือของปตท. อย่าง PTTEP ซึ่งจ่ายเงินให้บริษัทพลังงาน Cove Energy ในสหราชอาณาจักรจำนวน 1.9 พันลานดอลล่าสหรัฐเมื่อปีที่แล้ ว ได้เพิ่มจำนวนเงินขึ้น 3 พันล้านดอลล่าสหรัฐผ่ านทางการออกหุ้นใหม่เพื่อหาทุ นให้กับการซื้อขายของบริษัท ในกรณีของน้ำมันกลั่นแล้ว ปตท.ได้เปิดตัวการศึกษาความเป็ นไปได้ที่จะสร้างโรงกลั่ นขนาดใหญ่ใหม่ในเมืองบินห์ดินห์ ประเทศเวียดนามด้วย
แหล่งข่าวในบริษัท Mercuria กล่าวว่ากลุ่มบริษัทเครดิตสวิส ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการ “โครงการสีม่วงแดง” อันเป็นรหัสสำหรับกระบวนการยุ ทธศาสตร์การลงทุนบางส่วนในอนาคต ซึ่งยังไม่ได้ดำเนินการไปถึ งระยะของบัญชีรายชื่อผู้ประมูลซ ึ่งมีคุณสมบัติ หรือมีการส่งบันทึกข้อมูลสุดท้ ายออกไป
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวชาวไทยยืนยันว่ าการเจรจาได้ดำเนินไปไกลเกินกว่ าการพูดคุยเรื่องการคัดเลือกผู้ ประมูลที่มีคุณสมบัติ โดยมีการวางแผนที่จะทำสั ญญาภายในเดือนกันยายน โครงการดังกล่าวถูกผลักดั นโดยนายดำรง ปิ่ณภูวดล (Dumrong Pinpuvadol) ซึ่งดำรงดำแหน่ งรองประธานของแผนกธรุกิจระหว่ างประเทศของปตท. โดยการสนับสนุนของรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงพลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ซึ่งคาดว่าจะเกษียณในปลายปีนี้
ความขัดแย้งสามารถอธิบายได้ โดยกระบวนการคู่ ขนานสองกระบวนการ โดยมันไม่ใช่เรื่องที่ไม่มี ใครเคยได้ยินมาก่อนว่าผู้ เหมาะสมจะเข้าร่ วมในกระบวนการประมูลทางการ ในขณะเดียวกันกันก็ดำเนิ นการเจรจาต่อรองที่ไม่เป็ นทางการเบื้องหลัง นักลงทุนนายธนาคารบอกนิตยสาร Energy Intelligence
การเจรจาต่อรองที่ไม่เป็ นทางการนี่ปรากฎว่าทำให้เกิ ดความซับซ้อนโดยหน่ วยงานภายในปตท. เอง โดยบุคลากรระดับสูงและกลุ่มผู้ จัดการกล่าวหาว่าผู้ อำนวยการสาขาในไทยของบริษัท Mercuria นายสตารี่ ลู (Starry Loo) ได้เข้าไปจัดตั้งวาระการพูดคุ ยภายในปตท.ผ่านทางสายสัมพันธ์อั นน่าสงสัยกับนายพงษ์ศักดิ์ และนายหน้าทางอำนาจและอดีตรั ฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กลุ่มผู้วิจารณ์ระบุว่าข้ อตกลงที่เสนอนี้เป็นไปเพื่ อประโยชน์ของบริษัท Mercuria จำนวนมาก โดยไม่มีความแน่ชัดว่าปตท.จะได้ ประโยชน์อะไรบ้าง
รายละเอียดเพิ่มเติมนี้ยังไม่มี น้ำหนัก แต่แหล่งข่าวไทยกังวลว่าบริษัท Mercuria กำลังหลอกล่อเพื่อจะควบคุ มการตลาดของการส่งออกสินค้าน้ ำมันปตท. ซึ่งพวกเขาคำนวนว่ามี จำนวนประมาณ 200,000 บาเรลส์ต่อวัน ในขณะที่บริษัท Mercuria ยังต้องการจัดหาสินค้าน้ำมันดิ บให้กับโรงกลั่นน้ำมันปตท.อีกด้ วย
ปตท.มีกรรมสิทธิ์หุ้นส่วนราว 34% ในโรงกลั่นน้ำมันห้าโรงซึ่ งรวมแล้วมีความสามารถที่จะรองรั บน้ำมันได้มากกว่า 900,000 บาเรลส์ต่อวันนิดหน่อย วัถุดิบตั้งต้นของปตท.ราว 500,000 บาเรลส์ต่อวันถูกส่งออก โดยกลุ่มผู้จัดการปตท.ประเมินค่ าการจัดหาสำหรับ 6 ถึง 7 คลังสินค้าต่อเดือน หรือ 180,000-210,000 บาเรลส์ต่อวัน แหล่งข่าวบอกนิตยสาร Energy Intelligence
No comments:
Post a Comment