Thursday, June 27, 2013

โฉมหน้านักการเมืองผู้ชักใยแผนการให้ปตท.ซื้อหุ้นบริษัท Mercuria


นี่คือรายละเอียfกลุ่มบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อตกลงระหว่างปตท.และบริษัท Mercuria เรากำลังพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้เป็นรายบุคคล หากใครทราบรายละเอียดดังกล่าว กรุณาส่งข้อมูลมาให้เราที่บล๊อคนี้

คนกลางเรื่องข้อตกลงนี้ในเมืองไทยคือลูกจ้างของบริษัท Mercuria ชื่อนายStarry Loo หรือ CP Loo ทีมงานหาข้อมูลของเราบอกว่านาย Loo เป็นคนมาเลเซียและมีสายสัมพันธ์แน้นแฟ้นกับนักการเมืองไทยและคนใหญ่คนโต

คนที่ถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินของข้อตกลงนี้คือลูกจ้างของบริษัท Mercuria อีกเช่นกัน ชื่อนาย Han Jin ซึ่งเป็นผู้คุมบริษัท Mercuria ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค

สายสัมพันธ์ทางการเมืองที่ช่วยผลักดันข้อตกลงนี้ให้ผ่านไปได้คือนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรมว.พลังงาน และเจ้าของกลุ่มบริษัทเรือบรรทุกสินค้านทลิน และประธานที่ปรึกษาพรรครวมชาติพัฒนา และรมว.พลังงานคนปัจจุบันนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล และคนในปตท.กรรมการผู้จัดการใหญ่พีทีที โกลบอล นายบวร วงศ์สินอุดม ทั้งสามคนนี้ถูกว่าจ้างโดยนาย Starry Loo ได้รับการเสนอ “ข้อตกลง” พิเศษผ่านทางนาย Han Jin




สายสัมพันธ์ทางการเมืองทั้งสามทำงานร่วมกันเพื่อแต่งตั้งนายดํารงค์ ปิ่นภูวดลให้ขึ้นเป็นรองประธานกรรมการผู้บริหารปตท. ในแผนกธุรกิจระหว่างประเทศ โดยที่นายดํารงค์มิได้มีประสบการณ์ที่เหมาะสมแต่อย่างใด นายดํารงค์ขึ้นดำรงตำแหน่งนี้เมื่อเดือนธันวาคมปี 2555 และได้เริ่มการผลักดันดำเนินการภายในเพื่อให้ข้อเสนอของบริษัท Mercuria สำเร็จโดยทันที ดังนั้น นายดํารงค์ ซึ่งรู้จักในนามของ “ผู้ปฏิบัติตามคำสั่ง” ของแผนการซื้อหุ้นบริษัท Mercuria และช่วยให้บริษัทดังกล่าวเข้ามาผูกขาดปตท. แหล่งข่าวเราในปตท.บอกเราว่านายดํารงค์ไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามตำแหน่งดังกล่าว โดยเขามาดำรงตำแหน่งแทนบุคคลซึ่งมากด้วยประสบการณ์และได้รับการยอมรับอย่างสูง ประวัติการทำงานในอดีตของนายดํารงค์ยังทำให้เกิดข้อกังขาอีกด้วย มีรายงานว่า นายดํารงค์ได้ปรับเปลี่ยนผู้บริหารระดับล่างเพื่อการันตีว่าตำแหน่งของเขาจะไม่ถูกท้าทาย พนักงานปตท.บางคนตั้งคำถามถึงรถหรูปอร์เช่คันใหม่ของนายดํารงค์ เราจึงอยากขอให้นายดํารงค์พิสูจน์ว่าเขาซื้อรถคันนี้มาจากไหน และให้แสดงหลักฐานว่าเขาซื้อรถคันนั้นมาเองด้วย

เป้าหมายแรกของกลุ่ม “มาเฟีย” เกี่ยวกับข้อเสนอนี้คือการซื้อหุ้น 10-20% ของบริษัท Mercuria ซึ่งมี “มูลค่า” ราว 300-600 ล้านสหรัฐดอลล่า โดยใช้เงินปตท.และโดยไม่คำนึงว่าบริษัท Mercuria จะมีหนี้สินราว 1 พันล้านดอลล่าสหรัฐซึ่งแทบจะไม่มีทางได้รับการจ่ายคืนเลย ข้อตกลงนี้จึงเป็นข้อตกลงที่แย่สำหรับปตท.ในทางธุรกิจ ซึ่งยากที่จะเข้าใจว่าทำไมปตท.จึงอยากรับข้อเสนอนี้ นอกเสียจากจะมีใครคนใดคนหนึ่งได้ผลประโยชน์

เป้าหมายที่สองคือเพื่อการันตีให้บริษัท Mercuria เข้ามาผูกขาดการซื้อขายน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันสามแห่ง เพื่อการเข้าถึงกรรมสิทธิน้ำมันดิบของปตท. และผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมซึ่งส่งออกจากประเทศไทยผ่านทางปตท. ถือว่าเป็นการผูกขาดทั้งวัสดุน้ำมันดิบและน้ำมันกลั่น รวมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านบาท คนไทยซึ่งเป็นเจ้าของปตท. แทบจะไม่ได้ผลประโยชน์จากข้อตกลงกับบริษัท Mercuria นี้เลย แต่บางทีเราอาจเห็นกลุ่มผู้บริหารปตท.มีรถหรูปอร์เช่ขับมากขึ้นก็ได้

ในตอนนี้ ยังไม่มีใครทราบว่าประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ปตท. นายนายไพรินทร์ ชูโชติถาวรคิดอย่างไรกับข้อตกลงนี้ แต่มีข่าวลือว่าเขาจะคัดค้านข้อตกลงดังกล่าว อย่างไรก็ตามนายดำรงกันนายไพลินออกไปให้พ้นทาง นั้นหมายความว่าปตท.กำลังจะตกลงไปในหลุมของ “เหล่าแก๊งมาเฟียบริษัท Mercuria”


3 comments:

  1. ส่งข้อมูลยังไง

    ReplyDelete
    Replies
    1. ส่งมาที่ vagainstthaicorruption@gmail.com ครับ ขอบคุณมากครับ

      Delete
  2. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete