Tuesday, June 18, 2013

ใครอยู่เบื้องหลังการขายปตท.ให้บริษัทต่างชาติ?

แปลบางส่วนจากนิตสารInternational Oil Daily ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
บริษัทปตท. ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยกำลังดำเนินการเจรจากับบริษัท Mercuria เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะซื้อหุ้นของบริษัทผู้ค้าชาวสวิสราว 10% ถึง 20% ในราคา 300-600 ล้านดอลล่าสหรัฐ แหล่งข่าวจากกรุงเทพฯเล่าให้นิตรสารในเครือข่ายของ วารสาร International Oil Daily (IOD) อย่าง El Finance (ELF ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) ฟัง  อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในบริษัท Mercuria ยังไม่ได้ยืนยันเรื่องนี้ โดยยืนกรานว่าการประกวดหาตัวผู้เหมาะสมอย่างเป็นทางการซึ่งดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการลงทุนเครดิตสวิสยังอยู่ในระยะเวลาเริ่มแรก



บริษัท Mercuria ซึ่งมีอัตราการซื้อขาย 98 ล้านดอลล่าสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว คือหนึ่งในผู้ค้าพลังงานที่ใหญ่ติดหนึ่งในห้าอันดับของโลก อย่างไรก็ตามบริษัทยังต้องการเงินทุนและแบบแผนธุรกิจใหม่เพื่อความอยู่รอดในบรรยากาศการค้าขายที่มีความยากลำบากมากขึ้น ซึ่งบริษัทอย่าง Glencore, Vitol, Trafigura และ Gunvor ก็ยังต้องต่อสู้ดิ้นรนกับความท้าทายดังกล่าวด้วย (IOD 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554).
นอกจากนี้ บริษัท Mercuriaยังต่อสู้กับปัญหาที่ไม่ธรรมดาอย่างเรื่องหนี้เสียก้อนโตที่ค้างชำระให้กับบริษัท Nigerian National Petroleum Corp (NNPC) ในประเทศไนจีเรีย ซึ่งได้ส่งสินค้าน้ำมันให้บริษัท Mercuria โดยใช้เครดิตระยะสั้นตั้งแต่ปี 2553 (IOD 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554) บริษัท Mercuria เป็นเจ้าหนี้ของ NNPC มากว่าเจ้าหน้ารายอื่นๆของ NNPC
มีรายงานว่าปตท.ซึ่งเป็นบริษัทที่ควบคุมโดยรัฐและมียอดขาย 2,793 ล้านบาท (93.7 พันล้านดอลล่าสหรัฐ) เมื่อปีที่แล้วอยู่ในสภาวะขยายตัวและมีการซื้อขายมากขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง บริษัทนำมันดิบในเครือของปตท. อย่าง PTTEP ซึ่งจ่ายเงินให้บริษัทพลังงาน Cove Energy ในสหราชอาณาจักรจำนวน 1.9 พันลานดอลล่าสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว ได้เพิ่มจำนวนเงินขึ้น 3 พันล้านดอลล่าสหรัฐผ่านทางการออกหุ้นใหม่เพื่อหาทุนให้กับการซื้อขายของบริษัท ในกรณีของน้ำมันกลั่นแล้ว ปตท.ได้เปิดตัวการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะสร้างโรงกลั่นขนาดใหญ่ใหม่ในเมืองบินห์ดินห์ ประเทศเวียดนามด้วย
แหล่งข่าวในบริษัท Mercuria กล่าวว่ากลุ่มบริษัทเครดิตสวิส ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการ “โครงการสีม่วงแดง” อันเป็นรหัสสำหรับกระบวนการยุทธศาสตร์การลงทุนบางส่วนในอนาคต ซึ่งยังไม่ได้ดำเนินการไปถึงระยะของบัญชีรายชื่อผู้ประมูลึ่งมีคุณสมบัติ หรือมีการส่งบันทึกข้อมูลสุดท้ายออกไป
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวชาวไทยยืนยันว่าการเจรจาได้ดำเนินไปไกลเกินกว่าการพูดคุยเรื่องการคัดเลือกผู้ประมูลที่มีคุณสมบัติ โดยมีการวางแผนที่จะทำสัญญาภายในเดือนกันยายน โครงการดังกล่าวถูกผลักดันโดยนายดำรง ปิ่ณภูวดล (Dumrong Pinpuvadol) ซึ่งดำรงดำแหน่งรองประธานของแผนกธรุกิจระหว่างประเทศของปตท. โดยการสนับสนุนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ซึ่งคาดว่าจะเกษียณในปลายปีนี้
ความขัดแย้งสามารถอธิบายได้โดยกระบวนการคู่ขนานสองกระบวนการ โดยมันไม่ใช่เรื่องที่ไม่มีใครเคยได้ยินมาก่อนว่าผู้เหมาะสมจะเข้าร่วมในกระบวนการประมูลทางการ ในขณะเดียวกันกันก็ดำเนินการเจรจาต่อรองที่ไม่เป็นทางการเบื้องหลัง นักลงทุนนายธนาคารบอกนิตยสาร Energy Intelligence
การเจรจาต่อรองที่ไม่เป็นทางการนี่ปรากฎว่าทำให้เกิดความซับซ้อนโดยหน่วยงานภายในปตท. เอง โดยบุคลากรระดับสูงและกลุ่มผู้จัดการกล่าวหาว่าผู้อำนวยการสาขาในไทยของบริษัท Mercuria นายสตารี่ ลู (Starry Loo) ได้เข้าไปจัดตั้งวาระการพูดคุยภายในปตท.ผ่านทางสายสัมพันธ์อันน่าสงสัยกับนายพงษ์ศักดิ์ และนายหน้าทางอำนาจและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กลุ่มผู้วิจารณ์ระบุว่าข้อตกลงที่เสนอนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัท Mercuria จำนวนมาก โดยไม่มีความแน่ชัดว่าปตท.จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง
รายละเอียดเพิ่มเติมนี้ยังไม่มีน้ำหนัก แต่แหล่งข่าวไทยกังวลว่าบริษัท Mercuria กำลังหลอกล่อเพื่อจะควบคุมการตลาดของการส่งออกสินค้าน้ำมันปตท. ซึ่งพวกเขาคำนวนว่ามีจำนวนประมาณ 200,000 บาเรลส์ต่อวัน ในขณะที่บริษัท Mercuria ยังต้องการจัดหาสินค้าน้ำมันดิบให้กับโรงกลั่นน้ำมันปตท.อีกด้วย
ปตท.มีกรรมสิทธิ์หุ้นส่วนราว 34% ในโรงกลั่นน้ำมันห้าโรงซึ่งรวมแล้วมีความสามารถที่จะรองรับน้ำมันได้มากกว่า 900,000 บาเรลส์ต่อวันนิดหน่อย วัถุดิบตั้งต้นของปตท.ราว 500,000 บาเรลส์ต่อวันถูกส่งออก โดยกลุ่มผู้จัดการปตท.ประเมินค่าการจัดหาสำหรับ 6 ถึง 7 คลังสินค้าต่อเดือน หรือ 180,000-210,000 บาเรลส์ต่อวัน แหล่งข่าวบอกนิตยสาร Energy Intelligence

No comments:

Post a Comment